วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาพผลงานด้านนิเทศศิลป์ประเภทต่างๆ

ภาพผลงานด้านนิเทศศิลป์ประเภทต่างๆ

ภาพผลงานด้านนิเทศศิลป์ประเภทต่างๆ











ความหมายของนิเทศศิลป์

ความหมายของนิเทศศิลป์

  • ความหมายของนิเทศศิลป์
ำว่า นิเทศศิลป์ (Visual Communication Art) มาจากคำ ในภาษาสันสกฤต จำนวนสองคำมาสมาสกัน คือ นิเทศ+ศิลป์ หากจะแปลตามศัพท์ จากพจนานุกรม ก็จะแปลได้ดังนี้

นิเทศ (นิรเทศ,นิทเทศ)น.คำแสดงคำจำแนกออก,ก.ชี้แจง,แสดง,จำแนก,นำเสน
ศิลป์ (ศิลปะ) น.ฝีมือทางการช่า,การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ให้ประจักษ์ ดังใจนึก
เมื่อนำมารวมกันก็อาจได้ความหมายดังนี้
นิเทศศิลป์ หมายถึง งานศิลปะเพื่อการชี้แจงแสดง การนำเสนอให้ปรากฎ ในรูปแบบต่างๆ ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญ
เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นควรพิจารณาจากรากศํพท์เดิมมาจาก ภาษาอังกฤษ คือ VisualCommunicationArt

Visual แปลว่า การมองเห็น
Communication แปลว่า การสื่อสาร มาจากคำว่า communis หรือ commones ซึ่งแปลว่า ร่วมกัน หรือเหมือนกัน
นั่นคือ การสื่อสาร มุ่งที่จะให้ความคิด ความเข้าใจของผู้อื่น ให้เหมือนกับ ความคิด ความเข้าใจของเรา หรือทำอย่างไรจึงจะ เอาความรู้สึกนึกคิด ของผู้อื่น ได้โดยให้มีความรู้สึกนึกคิด เช่นเดียวกับเราได้เพราะ ธรรมชาติมนุษย์ได้รับ ข่าวสาร อย่างเดียวกันมา แต่จะมีความเข้าใจ และความรู้สึกนึกคิด แตกต่างกันออกไป การสื่อสาร ที่ดีก็ต้องมีการวางแผน ในที่น Communication Art ก็อาจแปลได้ว่า ศิลปะ ที่ใช้ในการสื่อสารร่วมกัน ระหว่างบุคคลในสังคมโดยผ่านการมองเห็น เป็นสำคัญ บุคคลที่รวมกันอยู่ ในสังคมย่อมต้องมีการติดต่อสื่อสาร กันตลอดเวลา ทำให้ทุกวันนี้ งานนิเทศศิลป์ ได้เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตประจำวัน ในสังคมมากขึ้นและ หากดูขอบข่าย และโครงสร้าง ของงานนิเทศศิลป์แล้ว ก็จะเห็นชัดเจนว่า นิเทศศิลป์มีความสำคัญ ต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจัยอื่นของชีวิต ที่มีอยู่เดิม

กระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีชื่อย่อว่า S M C R
งานนิเทศศิลป์ จะเกี่ยวข้องกับ สาร (Message) และ ช่องทาง (Channel)

โดยการใช้ศิลปะเพื่อพัฒนาสารและเลือกช่องทางหรือสื่อที่เหมาะสม
งานออกแบบนิเทศศิลป(Visual Communication Art) นอกจาก จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้อง กับวิชาการสาขาต่าง ๆ อีกก็คือ จิตวิทยา ธุรกิจ เทคโนโลยี กระบวนการสร้างสรรค์ และศิลปะ ดังโครงสร้างต่อไปนี้
องค์ประกอบของการออกแบบนิเทศศิลป์
จากโครงสร้างจะเห็นว่า ศิลปะ เเป็นวิชาการสาขาหนึ่ง ของงาน ออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นสาขาที่สำคัที่จะ ขาดเสียมิได้ และศิลปะในที่นี้ คือ ทัศนศิลป์ เพราะ นิเทศศิลป์เป็น การคิด และการสื่อสารด้วยภาพ จากจินตนาการ หรือจากภาพภายในความคิด ออกมาสู่การรับรู้ของบุคคล ผู้รับสาร โดยผ่านทางจักษุประสาทเป็นสำคัญ และการสร้างงานศิลปะ จะเป็นการรวม เอาความคิดรวบยอดจาก สาขาวิชาการอื่น ๆ ตามโครงสร้างดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของกรสร้างสรรค์ ดังเสนอโดยผัง ต่อไปนี้

กระบวนการคิด เพื่อสื่อสารด้วยทัศนศิลป์ ออกมาเป็นงานออกแบบนิเทศศิลป์
โครงสร้างและขอบข่ายของนิเทศศิลป
ดังกล่าวแล้วว่า นิเทศศิลป์ เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ทางการมองเห็น (Visual Communication) เพราะเป็นการสื่อสาร ไปยังผู้รับสารด้วยภาพเป็นสำคัญ (Visual Image) แม้จะมี บางองค์ประกอบจะมีการสื่อสารทางเสียง มาประกอบก็ตาม แต่สื่อหลัก ก็ยังเป็นการ สื่อสารด้วยภาพ โดยเสียงเป็นตัวเสริมให้ภาพนั้นสมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้เพราะการรับรู้ของ มนุษย์เรานั้น รับรู้จาก จักษุประสาทมากที่สุด (รับรู้ทางตา 83% หู11%) งานออกแบบนิเทศศิลป์สามารถจำแนกออก ตามสื่อที่ปรากฎได้ 3 ด้าน ดังนี้

งานออกแบบนิเทศศิลป์ปรากฎตามสื่อการพิมพ์

หมายถึงงานขั้นสุดท้าย ที่เป็น ตัวสื่อสาร ถึงผู้รับ ผ่านกระบวนการพิมพ์ ออกมา เช่น

-
หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
- นิตยสาร (Magazine)
-
วารสาร (Periodical)
- หนังสือ (Book)
- ภาพโฆษณา (Poster)
-
เครื่องหมายและการค้า (Trademark & Logo)
- ตราสัญลักษณ์ (Logo)
- บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
- สิ่งพิมพ์ทั่วไป (General printed matter)

การออกแบบนิเทศศิลป์

การออกแบบนิเทศศิลป์

การออกแบบนิเทศศิลป์
  • ( visual communication arts, communication design, \'vis_com )
    เป็น การเรียนเกี่ยวกับการออกแบบการสื่อสารทุกรูปแบบ เช่น โฆษณาสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ หนังสือ ปฏิทิน โปสเตอร์ ออกแบบสัญญลักษณ์ รวมไปถึงการทำหนังสั้น หนังโฆษณา และอีกหลายๆอย่าง สามารถประยุกต์ใช้ กับงานออกแบบทุกรูปแบบ.. อาทิ
    logo, symbolic, typography, advertising, web, animation,
    motion graphic, graphic design, packaging, digital sound design,
    publication design, book, magazine, multimedia, video production,photography, silk screen,
    cartooning, corporate identity, brand design,
    computer art, etc....

    ส่วนข้อแตกต่างกับแผนกวิชาอื่นๆนั้น คือ สามารถ "คิด" ได้ดีกว่า
    ( ทั้งๆที่อาจจะโง่กว่า เพราะ ในการเรียนนั้น จะต้องคิดตลอด )
    และ ยังสามารถผลิตงานขึ้นมาเองได้ด้วย อาชีพที่ทำได้จึงมีหลากหลายกว่า เช่น
    creative director, art director, gopy writer, graphic designer, stylist,
    trend setter, digital artist, animator, producer, cartoonist, free lance, photographer, typographer, web designer,design director, etc...

    นิเทศศิลป์เป็นการศึกษา ศิลปะเชิงพาณิชย์ เพื่อการสื่อสาร ดังนั้น
    คน ที่ artist มากจนขาดเหตุผล ไม่น่าอยู่ในวงการนี้ได้นานครับ ลักษณะ บุลคลิกภาพ พฤติกรรม ต้องเป็นคนที่ละเอียดอ่อน ช่างสังเกตุ มีความคิดสร้างสรรค์ กระตือรือล้น อดทน ศึกษาหาสิ่งแปลกใหม่
    เป็นนักอ่าน มีมนุษย์สัมพันธ์ ที่สำคัญต้องมีจรรยาบรรณของนักออกแบบ ส่วนคำว่าเทคโนโลยีนิเทศศิลป์นั้นหมายถึงการนำวิธีการที่ทันสมัยมาใช้ร่วมกับการออกแบบ และการนำเสนอ เช่น การทำหุ่นจำลอง [model]การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสร้างผลงาน แต่นักเรียนอย่าลืมการฝึกมือในการทำงาน เพราะการทำงานทางด้านนี้ ต้องมี idea sketch ตลอดทุกผลงาน แล้วจึงนำไปปฎิบัติจริง ฉะนั้นในการฝึกมือด้าน drawingเป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่ทุกคนจะทิ้งไปไม่ได้ สรุป คือต้องฝึกมือทุกๆวัน ไม่ต้องรอเรียน หรือ ให้อาจารย์สั่ั่งงานจึงจะทำ หมั่นฝึกมือ ฝึกออกแบบ ฝึกองค์ประกอบฯ
    ศึกษาดูงานจากหนังสืือ จากสิ่งพิมพ์ ดูผลงานจริงหลายๆด้านตามห้างสรรพสินค้า
    เช่น siamparagon , centralworld ฯลฯ
    จะได้เกิดความคิดใหม่ๆ แล้วนำมาสร้างงานที่อาจารย์มอบหมาย
    เป็นผลทำให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนด้านนี้ ในอนาคต เพราะต้องศึกษาต่อ
    ในระดับที่สูงขึ้น จำเป็นต้องฝึกตัวเองตลอดเวลาทั้งด้านความคิดและทักษะ จนเป็นความเคยชินจึงจะทำให้ประสบความสำเร็จทางด้านนี้.........

ประวิต

ชื่อ-สกุล นายวิชัย จินดาไพโรจน์
ข้าราชการครู
สอนแผนกเทคโนโลยีนิเทศศิลป์
ศาสนาพุธท
วุฒิ ป.ตรี